สถิติ
เปิดเมื่อ15/09/2015
อัพเดท28/09/2015
ผู้เข้าชม7464
แสดงหน้า9019
ปฎิทิน
July 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  




ไซส์หมวกกันน็อคที่เหมาะกับเรา กับวิธีวัดไซส์ศรีษะ

อ่าน 430 | ตอบ 0
หมวกกันน๊อค ถือว่าเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดสำหรับนักบิดเลยทีเดียว ในการเลือกซื้อหมวกดีๆซักใบ นอกจากเรื่องของราคา รูปทรง สีสัน วัสดุ มาตรฐานความปลอดภัย และยี่ห้อที่บ่งบอกถึงศักดินาของผู้ใส่แล้ว ขนาดของหมวกกันน๊อคก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ซึ่งมีผลไปถึงเรื่องของความปลอดภัยเลยทีเดียว ถ้ามันคับไปก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด รู้สึกบีบที่ศีรษะทำให้ปวดได้ ถ้ามันหลวมไป เวลาที่ต้องใช้งานมันขึ้นมา มันอาจจะเหวี่ยงกระชากหัวของคุณให้คอเคล็ดได้ หรือถ้าล้มแบบเอาหน้ากระแทกพื้น ปากและจมูกของคุณจะไปฟาดกับส่วนคางของหมวกทำให้จมูกหัก หรือฟันร่วงเอาได้ แทนที่จะช่วยปกป้องศีรษะของเรา กลับเป็นโทษให้เกิดอันตรายซะงั้น เห็นหรือยังว่ามันสำคัญและควรที่จะใส่ใจขนาดไหน งั้นเรามาเลือกซื้อหมวกให้เหมาะและตรงกับไซส์ศีรษะของคุณกันดีกว่า
   
เริ่มแรกเลย คุณต้องรู้ซะก่อนว่าศีรษะของคุณมีขนาดเท่าไหร่ ตรงกับไซส์ของหมวกกันน๊อคไซส์ไหน ข้างล่างนี้จะเป็นชาร์ตแสดงถึงขนาดไซส์ของหมวกกันน๊อคต่างๆกับขนาดรอบศีรษะที่เหมาะสมกับไซส์นั้นๆ มีหน่วยวัดเป็น cm. หมวกกันน๊อคแทบจะทุกยี่ห้อจะใช้ขนาดตามนี้ เพราะงั้นก็ถือเป็นขนาดมาตรฐานได้ล่ะนะ XS = 53-54 S = 55-56 M = 57-58 L = 59-60 XL = 61-62 XXL = 63-64 XXXL = 65-66
 
   วิธีวัดไซส์หมวกกันน๊อค
เมื่อรู้ถึงไซส์ของหมวกกันน๊อคแล้วก็มาวัดศีรษะของคุณกันดีกว่า ดูจากรูป ก็ไม่น่ายากนะ ใช้สายวัด วัดจากตรงบริเวณส่วนหน้าผาก วนไปรอบๆศีรษะ ของคุณวัดได้ออกมากี่ cm. ล่ะ ของผมวัดได้ 62cm. พอดีเลยแหะ งั้นก็ได้เป็นไซส์ XL สิเนี่ย(ไม่น่าภูมิใจเท่าไหร่เลยอ่ะ หาหมวกใส่ยากจริงๆ) ปกติมาตรฐานชายไทยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 57-62cm. ได้ละมั้ง (ขนาดศีรษะนะครับ ไม่ใช่อย่างอื่น) เมื่อรู้ขนาดไซส์ศีรษะของคุณแล้ว ทีนี้จะเป็นวิธีทดสอบว่าหมวกกันน๊อคใบนั้น ไซส์นั้น พอดีกับศีรษะคุณจริงๆหรือเปล่า วิธีที่ 1 เมื่อคุณเลือกยี่ห้อและลายที่คุณชอบได้แล้ว ก็ลองสวมหมวกใบนั้นแล้วรัดสายรัดคางให้เรียบร้อย แล้วให้คุณส่ายศีรษะของคุณ ไปทาง ซ้าย-ขวา อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องถึงขนาดแรงมากนัก ถ้าพบว่าหมวกใบนั้นไม่มีอาการแกว่งเลย แสดงว่าหมวกไซส์นี้(คงจะ)พอดีกับศีรษะของคุณเลย หรือว่ามีอาการแกว่งเล็กน้อยก็ไม่มีปัญหา 'เพราะอาจจะเกิดจากการให้ตัวของผิวหนังบริเวณหน้าของคุณเอง' (หรือที่เพื่อนที่สนิทกันมากๆเรียกว่า “หนังหน้า” นั่นแหล่ะ) แต่ถ้ามันแกว่งซะจนแทบจะหมุนได้เลย อันนี้อันตรายจริงๆครับ ถอดออกได้เลย แล้วหาไซส์ที่เล็กกว่านี้มาลองใหม่ เมื่อได้หมวกที่โอเคแล้ว ก็มาลองวิธีที่ 2 กันเลยครับ วิธีที่ 2 ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งที่ถนัด จับที่ด้านหลังของหมวกแล้วออกแรงดันหมวกเล็กน้อยไปข้างหน้า โดยให้เกร็งคอเอาไว้ แล้วใช้นิ้วก้อยของมือที่เหลืออีกข้างหนึ่ง ลองแหย่เข้าไปตรงบริเวณส่วนของหน้าผากดู ถ้าเกิดว่ามีช่องว่างขึ้นมา นั่นก็แสดงว่าหมวกใบนั้นคงไม่เข้ากับคุณเป็นแน่แท้ เปลี่ยนใบใหม่ซะ วิธีที่ 3 วิธีจะคล้ายๆกับวิธีแรก แค่เปลี่ยนเป็นแนวตั้งแค่นั้นเอง โดยใช้มือข้างหนึ่งจับที่บริเวณด้านหลังหมวก แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งจับที่ส่วนคางของหมวกแล้วใช้มือข้างนี้ผลักหมวก ขึ้น-ลง อย่างต่อเนื่อง ถ้าศีรษะของคุณเงยขึ้นและก้มลง ตามจังหวะที่คุณพลัก หมวกใบนั้นก็ใช้ได้ล่ะ แต่ถ้าคุณลองทำแล้วศีรษะของคุณไม่ไปตามหมวก แสดงถึงอาการหลวมอย่างเห็นได้ชัด ก็แสดงว่าหมวกใบนั้นใหญ่เกินไปแล้วล่ะ ลองเปลี่ยนไซส์เล็กกว่านี้ดู
   
สรุป เมื่อคุณลองใส่หมวกใบสุดโปรดที่คุณเลือกมาและได้ทดสอบผ่านทั้ง 3 วิธีนี้อย่างง่ายดายโดยที่ไม่มีอาการบีบรัดศีรษะคุณจนรู้สึกอึดอัดแล้วละก็ไม่ต้องลังเลเลยครับ ควักเงินซื้อมันมาใส่เลย แต่ถ้าหมวกใบที่คุณชอบเกิดผ่านไม่ครบทั้ง 3 วิธีนี้ เปลี่ยนไซส์ก็แล้ว ก็ยังผ่านไม่หมดซักที ผมบอกคุณได้เลยว่า “ศีรษะของคุณคงไม่เหมาะกับหมวกยี่ห้อนั้นแล้วล่ะ ตัดใจซะเหอะ” และสุดท้ายนี้ อย่าลืมให้ความสำคัญกับหมวกคลุมศีรษะหรือที่เรียกติดปากกันว่า “ไอ้โม่ง” ด้วยนะครับ เพราะไอ้โม่งราคาถูกที่ทำจากผ้าคอตตอนลื่นๆนุ่มๆใส่สบายเนี่ย มันจะทำให้การยึดเกาะระหว่างหมวกกันน๊อคกับศีรษะของคุณเสียไปได้ เดี๋ยวมันจะไม่ต่างอะไรกับการใส่หมวกกันน๊อคที่ใหญ่เกินไป ไอ้โม่งที่เหมาะสำหรับสิงห์นักบิดโดยเฉพาะนั้น ผิวสัมผัสของมันจะเป็นเนื้อผ้าแบบไม่มันและไม่ลื่นอ่ะครับ เพื่อให้เสียสภาพการยึดเกาะให้น้อยที่สุด ให้มันใกล้เคียงกับผิวหน้าของเราให้มากที่สุด จะพบเห็นได้จากไอ้โม่งแบรนด์เนมนำเข้าราคาแพงหลายร้อยขึ้นไปจนถึงเกือบพันก็มี

 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :